วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การประยุกต์ใช้การสื่อสารและระบบเครือข่ายสำหรับ EDI

การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จ
(Electronic Data Interchange (EDI) Strategy for Successful)



ระบบสื่อสาร ที่มาจาก www.ecommerce.or.th/edi/whatthai.html

การสื่อสารยุคปัจจุบันสามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วไร้ขอบเขตจำกัด องค์กรที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยย่อยได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน และประสบความสำเร็จได้เร็ว การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นกลยุทธ์การสื่อสารอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งหลายองค์กรได้นำมาใช้ ทำให้การสื่อสารสะดวกรวดเร็ว ประหยัดงบประมาณในของกระดาษและการขนส่ง
การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Interchange (EDI)) หมายถึง การสับเปลี่ยนเอกสารการซื้อขายทางธุรกิจระหว่างองค์กรมาตรฐาน 2 องค์กรขึ้นไปผ่านทางคอมพิวเตอร์โดยตรง สามารถนำไปใช้ได้ทั้งองค์กรภายในและองค์กรภายนอก ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศตัวอย่าง เช่น ใบกำกับสินค้า ( invoices ) , ใบขนของ ( Bill Of Lading ) , และใบสั่งซื้อสินค้า ( Purchase Orders ) การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นี้จัดว่า เป็นส่วนหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce : E – Commerce ) ปัจจุบันเริ่มมีหลายบริษัทหลายองค์กรที่นำเอาระบบ EDI เข้าไปใช้ ตัวอย่างเช่น Customs Declaration ( กรมศุลกากร – การนำเข้าส่งออกสินค้า ) , Purchase Order , Invoice ( ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง – การซื้อสินค้า , รายการสินค้า ) Payments ( ธนาคาร – การชำระเงินระหว่างองค์กร ) Manifest , Bill of Lading , Airway Bill ( ธุรกิจขนส่ง – การไหลเวียนของสินค้าระหว่างท่าเรือ และ รวบรวมระบบท่าเรือกับผู้ขนสินค้าในประเทศ และระหว่างประเทศ ) Letter of Credit ( ผู้นำเข้า – ส่งออก – กระบวนการนำเข้าส่งออก )


ที่มาจาก www.commissaries.com
การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สามารถประหยัดงบประมาณ และเวลาได้มาก เพราะเอกสารสำหรับการซื้อขายสามารถส่งผ่านระบบสารสนเทศ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตลอดจนสามารถส่งผ่านถึงการสื่อสารทางไกลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ด้วย แม้เกี่ยวกับงานพิมพ์ ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลเข้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทาง โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาในการส่งเอกสาร ระบบของ EDI นี้ เป็นกลยุทธ์ที่อำนวยประโยชน์ได้อย่างสูง ช่วยให้เกิดความเชื่อถือได้อย่างแน่นอน โดยการเข้ารหัส ( Lock in ) ของลูกค้าให้ถูกต้อง และสามารถทำได้ง่าย ๆ สำหรับลูกค้า หรือผู้จำหน่าย ในการที่จะส่งสินค้าจากผู้จำหน่ายสินค้า


ลักษณะการดำเนินงานของระบบ EDI
การดำเนินงานของระบบ EDI มีขั้นตอนซึ่งทำหน้าที่ในการประสานงานกั้นหลายอย่างที่สำคัญ คือ 1. มี EDI Gateway ( Tradesiam ) ซึ่งมีหน้าที่เปรียบเสมือนกรมไปรษณีย์กลางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งประจำการเพื่อเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมระบบของการรับ – ส่ง และแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจกับหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวัฏจักรการดำเนินงานธุรกิจทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนจากต้นทาง ( ผู้ส่ง ) ไปยังปลายทาง ( ผู้รับ )
2. โดยมี VANS ซึ่งมีหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นศูนย์ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ตามเขตต่าง ๆ ที่คอยให้บริการและดูแลระบบ EDI ตามขอบเขตและหน้าที่ของแต่ละ VANS ด้วยการดูแล และรับผิดชอบเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ทำให้การรับส่ง และแลกเปลี่ยนกันจนถึงปลายทางอย่างถูกต้อง รวมทั้งการได้รับความปลอดภัยทางด้านข้อมูลที่สามารถแสดงผลด้วยการลงบันทึกรายงานในแต่ละวัน และทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
3. เอกสารธุรกิจที่รับ – ส่ง โดยผ่านทางระบบ EDI นั้น จะต้องผนึกด้วยซองอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นซองที่ได้รับมาตราฐานของการใช้รับ – ส่ง และแลเปลี่ยนเอกสารธุรกิจผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก หรือที่สากลให้การยอมรับในนามของ UN/ EDIFACT


องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ EDI
ในส่วนขององค์กรและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ EDI คือ
1. End User ผู้ที่มีหน้าที่ในการรับ – ส่งเอกสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ( ผู้ประกอบการ )
2. Value Added Networks ( VANS ) ผู้ที่มีหน้าที่ให้บริการทางด้านการรับ – ส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ( เปรียบเสมือนกับศูนย์ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ประจำเขตต่าง ๆ ที่ยินดีให้การบริการ )
3. EDI Gateway เป็นศูนย์กลางในการคัดแยกเอกสาร ทำหน้าที่ในการคัดแยก และนำส่งเอกสารผ่านไปยังจุดหมายปลายทาง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมระบบไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจนำเข้า และส่งออก


ประเภทการเชื่อมโยงของ EDI ( Typi – cal EDI Linkages )
ประเภทการเชื่อมโยงของการสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้จำหน่ายสินค้า และลูกค้า การติดต่อของผู้จำหน่ายสินค้านั้น จะต้องมีส่วนของระบบการจัดจำหน่าย และในส่วนของลูกค้านั้นจะต้องมีส่วนที่เป็นชื่อของลูกค้า

ระดับการสร้างระบบของ EDI ( Degree of EDI Implementation )
การแลกเปลี่ยนกับหุ้นส่วนนั้น สามารถจะดูแลบำรุงรักษาได้หลายระดับ ซึ่งมีหลักการของการกำหนดการใช้งาน 3 ระดับ คือ
1. ระดับที่มีผู้ใช้คนเดียว ( Level – one – users ) โดยปกติจะมีเพียงหนึ่ง หรือสองชุดการประมวลผลเท่านั้นที่ถูกส่งมา ของหุ้นส่วน ยกตัวอย่างเช่น การส่งใบกำกับสินค้า และการส่งหลักทรัพย์ไปยังลูกค้า
2. ระดับที่มีผู้ใช้ 2 คน ( Level – two – users ) จะมีชุดของการประมวลผลจำกัดตัวเลขของหุ้นส่วนที่ถูกส่งมามากมาย บางทีอาจเป็นโรงงานอุตสาหกรรม มีหน่วยขององค์กรหลายองค์กรที่เข้าร่วมการส่งลักษณะนี้อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้เท่าที่จำเป็นก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมากมายนัก
3. ระดับที่มีผู้ใช้ 3 คน ( Level – three – users ) มิใช่เพียงแต่มีชุดของการประมวลผลจำกัดตัวเลขของหุ้นส่วนเท่านั้น แต่การประยุกต์ใช้ของคอมพิวเตอร์จะถูกปรับปรุงให้เข้ากับความเหมาะสมของ EDI
วัตถุประสงค์ของระดับที่มีผู้ใช้คนเดียวแระระดับที่มีผู้ใช้ 2 คน คือ การแปลงข้อมูลเอกสารให้เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผลการใช้ในระดับนี้จะถูกอธิบายความในลักษณะแนวคิดแบบเปิดกับเปิด ( Door – to door approach ) เมื่อมีผลกระทบนั้น มิได้มีเพียงแต่การสื่อสารข้อมูลและการประยุกต์ใช้ที่ถูกปรับปรุงให้ได้สัดส่วนของ EDI เพื่อให้ตรงกับทั้ง 3 ระดับ


ประโยชน์ของ EDI
1. ช่วยลดข้อผิดพลาด ( Reduced errors ) โดยปกติแล้วการนำข้อมูลเข้าระบบ มักจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นหากมีการลดข้อผิดพลาดตรงนี้ได้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก จากการศึกษาข้อมูลของกลุ่ม EDI Group Ltd. พบว่า เมื่อไม่มีการใช้ EDI มีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นถึง 10.1 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อมีการนำเอา EDI มาใช้ทำให้ข้อผิดพลาดลดลง เหลือ 4.4 เปอร์เซ็นต์
2. ช่วยลดงบประมาณ ( Reduced Costs ) เรื่องของงบประมาณนี้ สามารถลดลงได้จริง โดยเป็นการช่วยตัดงบประมาณนี้ สามารถลดลงได้จริง หมายถึงช่วยลดงบประมาณในเรื่องของเอกสาร และคู่มือการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนขององค์กรในเรื่องของการช่วยลดงานด้านเอกสารนี้ สามารถลดได้ถึง $1.30 ถึง $5.50 ต่อเอกสารหนึ่งชุดหรือในระดับที่สูงไปกว่านี้คือ การสั่งซื้อสินค้า การตระเตรียมการสั่งซื้อโดยใช้ระบบ EDI นั้นช่วยให้สามารถลดงบประมาณได้ตั้ง $75 ถึง $350 เหล่านี้ คือ ความเป็นจริงของระบบ EDI
3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ( Increased Operational Efficiency )บริษัทต่าง ๆนั้นได้รับประโยชน์อย่างมากในการเข้าร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เพราะฉะนั้น มีความเป็นไปได้สูงมากที่บริษัทเหล่านี้จะนำเอาระบบ EDI ไปใช้เพื่อขยายฐานบริษัทของตนเองให้กว้างไกลออกไปยิ่งขึ้น และในช่วงจังหวะนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ที่จะพัฒนาธุรกิจของตนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่ง เพราะระบบ EDI จะเข้าไปแทนที่ระบบเอกสาร
4. ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ( Increased ability to Compete ) ด้วยการผสมผสานกันระหว่างข้อดีของการช่วยลดงบประมาณ และลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ดีที่มีอยู่ชนิดเดียวในเวลานี้ มันมีความเป็นไปได้ที่องค์กรระหว่างประเทศจะเน้นการนำเอาระบบ EDI มาใช้ในการติดต่อระหว่างบริษัทในเครือสมาชิก ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทซึ่งเป็นผู้แข่งขันสามารถที่จะมีกระบวนการเทคโนโลยีที่สอดรับกับผลิตภัณฑ์ และนอกจากนั้นยังเป็นการเสนอการบริการที่ดีให้กับลูกค้าด้วย

ที่มาจาก www.ecommerce.or.th/edi/whatthai.html

เทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Commerce Technology )
การสื่อสารข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตกันมาก และการรับข้อมูลส่วนใหญ่ก็มาจากอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเป็นโอกาสการเปิดรับข่าวสารเข้ามา โดยเฉพาะข่าวสารธุรกิจรวมไปถึงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย การเลือกเทคโนโลยี มีอยู่ 3 ประการคือ
1. การเชื่อมต่อได้โดยตรง ( Direct Connectivity ) บริษัทสามารถที่จะสร้างการเชื่อมโยงการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหุ้นส่วน มีการนำวงจรมาใช้ เช่นการอาศัยข่ายการส่งของ AT&T , GTE , MCT และ Sprint วงจรนั้นก็จะนำมาจาการหมุนโทรศัพท์ หรือสายส่วนตัว และสามารถใช้ได้หลายทาง เช่น วงจรใยแก้วนำแสง และการส่งสัญญาณคลื่นไมโครเวฟเหล่านี้ คือ แนวทางการแลกเปลี่ยนการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจและมันเป็นการจัดการแลกเปลี่ยนกับหุ้นส่วน ซึ่งเป็นการควบคุมได้โดยตรง
2. การเพิ่มมูลค่าด้วยระบบเครือข่าย ( Value Added Networks ) การเพิ่มมูลค่าเพิ่มด้วยระบบเครือข่าย ( Value Added Networks: VAN ) เป็นการจัดการเรื่องการให้การบริการโดยพ่อค้า ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการให้การบริการทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นการให้การบริการโดยมีการนำเอาระบบ EDI มาใช้ ตัวอย่าง เช่น การเพิ่มมูลค่าด้วยระบบเครือข่ายนี้ พ่อค้าจะจัดการเรื่องธุรกิจของตนเองด้วยซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลกระบวนการ มีการดูแลเรื่องตัวเลข และจัดการเรื่องแฟ้มข้อมูล และเป็นผู้ช่วยในการให้การฝึกอบรมการแลกเปลี่ยนให้กับหุ้นส่วนด้วย
3. อินเทอร์เน็ต ( Internet ) ระบบอินเทอร์เน็ตสร้างโอกาสในการสื่อสารด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้พรมแดน และ ไม่เพียงแต่การแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงกับหุ้นส่วนเท่านั้น แต่ยังสามารถโยงแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภคบริโภคเกือบทุกชนิด และ ที่เป็นที่นิยมอย่างมาก คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคาดหวังอย่างยิ่งว่า จะสามารถใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์ได้อย่างดี นอกจากนี้ มีการขนส่งผลิตภัณฑ์บางอย่างผ่านระบบอินเทอร์เน็ต


อุปกรณ์สำหรับใช้บริการ EDI
1. Hardware คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โมเด็ม และระบบคู่สายโทรศัพท์
2. EDI Software ซึ่งมีซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับใช้ป้อนข้อมูลประเภทต่าง ๆ ของบริษัท หรือสำนักงานของผู้ใช้บริการ โดยมีบริษัท Software House เป็นผู้ให้บริการ
3. Translation Software เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการแปลงหรือแปลงข้อมูลที่ได้มาจาก Application Software แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลของ EDI โดยมีบริษัท Solution เป็นผู้ให้บริการ
4. Communication Software ซอฟต์แวร์สำหรับการสื่อสาร เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการรับ – ส่งข้อมูล EDI ระหว่างผู้ใช้งานการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้บริการ Transport Software


สรุป
การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การสับเปลี่ยนเอกสารการซื้อขายทางธุรกิจระหว่างองค์กรมาตรฐาน 2 องค์กรขึ้นไป ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลายประเภท เช่น การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือกรณีที่กรมศุลกากรไทย นำเอาระบบ EDI มาใช้ในการจัดเก็บภาษีการตรวจปล่อยสินค้า การส่งเสริมการส่งออก และการป้องกันปราบปรามการลักลอบหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร เป็นต้น การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนลักษณะการดำเนินงานของ EDI มีส่วนสำคัญคือ 1.มี EDI Gateway 2. มี VANS 3. มีเอกสารธุรกิจที่รับ – ส่ง โดยผ่านระบบ EDI ส่วนข้อดีของ EDI มีมากมาย คือ ช่วยลดข้อผิดพลาด ช่วยลดงบประมาณ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติและช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
โดย Phrom ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
คณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ที่มา http://www.thaigoodview.com/
http://blog.spu.ac.th/print.php?id=18152


เบื้องหลังการทำงานของ EDI

ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยการใช้ EDI นั้น คุณและคู่ค้าของคุณ จำเป็นต้องมีการใช้ส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ข้อ คือ Software และ Communication Link
1.Software ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ในการแปลงข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบตามมาตรฐานของ EDI ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือ 3 ชนิดที่ใช้ในการติดต่อระหว่างโปรแกรม คือ
ตัวแปลข้อมูล (Translator)
ตัวจับเข้าคู่ข้อมูล (Mapper)
ตัวเชื่อมโยงข้อมูล (Bridge)
โดยที่มีหลักการในการทำรายการคือ เริ่มต้นด้วยการใส่ข้อมูลลงในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ข้อมูลนี้อาจได้มาด้วยวิธีการที่พนัก งานใช้เครื่องอ่านแถบรหัสแทนข้อมูล (Barcode) จากร้านค้าปลีกหรือผู้ส่งสินค้าจากการ เชื่อมต่อระบบเครือข่ายโดยตรง (Online) ในขั้นตอนนี้ข้อมูลจะถูกส่งไปยังตัวแปลข้อมูล (Translator) ซึ่งข้อมูลที่ได้จะถูกจัดให้อยู่ใน รูปแบบมาตรฐานก่อนที่จะมีการส่งแบบ อิเล็กทรอนิกส์และถูกอ่านข้อมูลหรือถูกแปลอีกครั้ง จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคู่ค้านั้นๆ ดังตัวอย่างในรูปภาพ

การจัดรูปแบข้อมูลด้วย EDI Software


ตัวแปลข้อมูลของคู่ค้าทั้งสองฝ่ายต้อง มีการทำรายการด้วยการใช้โปรแกรม (EDI Software) ในการจัดเตรียมข้อมูลอาศัยตัวจับคู่ข้อมูล (Mapper) แล้วเข้ารหัสข้อมูล (Encoding) ให้อยู่ใน รูปแบบที่ถูกต้องซึ่งอยู่ในรูปแบบภาษาของ EDI เพื่อการส่งต่อข้อมูลไปยังตัวเชื่อมโยง (Bridge) ในการแทรกข้อมูลนั้นลงไปยังหีบห่อ (Information Package) เพื่อการจัดส่งต่อไปยังเครือข่าย ในทางกลับกันเมื่อผู้รับได้ข้อมูลแล้วก็ต้องใช้โปรแกรมของระบบ EDI Software ทำการถอดรหัสข้อมูล (Decoding) เพื่อให้ได้ข้อมูลในรูปแบบของ EDI แล้วจึงใช้ตัวจับคู่ข้อมูล (Mapper) ให้อยู่ในรูป แบบที่พร้อมที่จะถูกแปลด้วยการใช้ Translator สุดท้ายจึงนำแสดงข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรมประยุกต์(BusinessApplication)

การวางแผนการใช้งาน EDI



1. วิเคราะห์ความต้องการของหน่วยงาน ศึกษากระบวนการทางธุรกิจต่างๆที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันและวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาไปสู่การใช้อีดีไอ โดยเริ่มต้นจากกระบวนการพื้นฐาน เช่น การสั่งซื้อสินค้า
2. พิจารณาคู่ธุรกิจที่จะเริ่มใช้อีดีไอด้วยกัน การเริ่มต้นที่ดีควรจะเริ่มกับคู่ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมโดยการปรึกษากันถึงแผนการนำเอาอีดีไอมาใช้
3. ผนวกอีดีไอเข้ากับระบบเดิมที่มีอยู่ อีดีไอมิใช่เป็นแค่เพียงอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล แต่เป็นส่วนหนึ่งของระบบธุรกิจ ดังนั้นก่อนการประยุกต์ใช้อีดีไอ จึงจำเป็นต้องมีการปรับกระบวนการทางธุรกิจบางอย่างใหม่เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนกัน
4. เลือกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สองทางเลือกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ การเลือกใช้บริการเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (VAN) ของบุคคลที่สาม หรือการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นเอง ซึ่งกรณีหลังมีข้อเสียคือ ต้องลงทุนสูงและไม่สามารถครอบคลุมธุรกิจได้เท่าบริการ VAN ที่มีอยู่ ในทางตรงกันข้ามการเลือกใช้บริการ VAN จะทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการสืบค้นในอนาคต นอกจากนี้ประสบการณ์ในการให้บริการจะช่วยลดความเสี่ยงของลูกค้าได้
5. พิจารณามาตรฐานที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างคู่ธุรกิจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าด้วยอีดีไอนั้น จำเป็นต้องมีมาตรฐานในการสื่อสารในทำนองเดียวกับการที่ภาษาไทยมีคำย่อ คำ ประโยคและไวยากรณ์ ประกอบกันเป็นเอกสาร อีดีไอก็มี code, Data Element, Segment, Syntax Rule ประกอบกันขึ้นเป็น Message การสร้างข้อตกลงที่เกี่ยวกับมาตรฐานการสื่อสารระหว่างสององค์กรขึ้นใหม่นั้นไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง เพราะจะต้องเสียแรงเสียเวลาพิจารณากันใหม่ทุกๆ ครั้งที่ธุรกิจขยายตัว ดังนั้นจึงควรเลือกใช้มาตรฐานที่มีการพัฒนาขึ้นใช้และเป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้ว เช่น UN/EDIFACT, ANSI X12
ที่มาจาก
www.ecommerce.or.th/edi/gifs/edicircuit.gif

ข้อสอบ
1.การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตัวย่อคือแบบใด
ก.GPS
ข.EDI
ค.Internet
ง.FAX

2.ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของ EDI
ก.ลดขั้นตอนการจัดการรับ-ส่งเอกสาร
ข.เพิ่มความถูกต้องรวดเร็ว
ค.ต้องเสียค่าใช่จ่ายในการจัดส่งเอกสารมาก
ง.เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า

3.ข้อใดไม่ใช่องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ EDI
ก.End User
ข.EDI Gateway
ค.Value Added Networks ( VANS )
ง.Videoconference

4.การส่งใบกำกับสินค้า และการส่งหลักทรัพย์ไปยังลูกค้าเป็นการสร้างระบบของ EDIระดับใด
ก.( Level – one – users )
ข.( Level – two – users )
ค.( Level – three – users )
ง.( Level – four – users )

5.ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์สำหรับใช้บริการ EDI
ก.Hardware
ข.EDI Software
ค.Internet
ง.Translation Software

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น